อยากให้ลองได้อ่าน เก่งแล้วไม่ขยัน จะไม่มีวันเก่งจริง
อยากให้ลองได้อ่าน เก่งแล้วไม่ขยัน จะไม่มีวันเก่งจริง
เวลาช่างผ่านไปรวดเร็วเหลือเกิน เมื่อมองย้อนกลับไป มีหลายเหตุการณ์ราวกับเพิ่งจะผ่านพ้นเมื่อวันวาน…
ธนินทร์ เจียรวนนท์ ที่ปัจจุบันอายุของเขาเข้าสู่วัย 78 ปีแล้ว และ “เจี่ย เอ็กชอ” คุณพ่อของเขา ชาวจีนโพ้นทะเลจากเมืองแต้จิ๋ว หอบเอาเสื่อผืนหมอนใบ และ
กระสอบเมล็ดพันธุ์ผักถุงใหญ่ รอนแรมมาจนถึงเมือง “หมั่งก๊ก” หรือบางกอก แล้วเปิดร้านจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ชื่อ “เจียไต๋จึง” ซึ่งเป็นภาษาแต้จิ๋ว แต่ถ้าเป็น
ภาษาจีนกลางจะอ่านว่า “เจิ้งต้า” หมายถึงความซื่อสัตย์ ยุติธรรม เที่ยงตรง ซึ่งกลายมาเป็นฐานรากธุรกิจของ “เครือเจริญโภคภัณฑ์” จนทุกวันนี้
เจี่ย เอ็กชอ นักพัฒนาและปรับปรุงสายพันธุ์ตัวยง เมื่อมีสวนผักทั้งที่เมืองแต้จิ๋ว
และเมืองไทย ก็คัดเลือกสายพันธุ์ที่ดีจากสวนผักทั้ง 2 แห่ง มาขยายผลต่อ ทำให้นึกถึงสุภาษิตโบราณของจีนที่กล่าวถึงความสำคัญของการอ่านตำราหมื่น
เล่ม กับการเดินทางไกลหมื่นลี้ เพื่ออธิบายว่าความรู้ทั้งจากตำราและประสบการณ์ล้วนสำคัญ แต่สำหรับเจี่ย เอ็กชอ ผู้มีโอกาสเรียนรู้จากโลกกว้างนั้น การเรียนรู้จากประสบการณ์สำคัญยิ่งกว่าตำรา
อิทธิพลทางความคิดจากพ่อ
ในช่วงสงครามมหาเอเชียบูรพา เมื่อญี่ปุ่นขยายแนวรบเข้ามาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กิจการเมล็ดพันธุ์เจียไต๋พลอยได้รับผลกระทบ เจี่ย เอ็กชอ จึงพาครอบครัวหนีเครื่องบินทิ้งระเบิดจากถนนเยาวราชไปอยู่ถนนตก ถือเป็นบริเวณชานเมืองกรุงเทพฯ
ชีวิตในท้องนาท้องไร่กับเป็ดไก่ ทำให้ธนินท์ ซึ่งขณะนั้นมีอายุ 3 ขวบ เกิดความรู้สึกผูกพัน ถึงขั้นที่ว่านำเงินแต๊ะเอี๊ยไปซื้อไก่ชนตั้งแต่อายุ 9 ขวบ เพราะหลงใหลในความสง่างาม แข็งแรง บึกบึนของมัน
และอาจเป็นเพราะชะตาฟ้าลิขิตให้รู้สึกผูกพันกับสัตว์ปีกแต่วัยเยาว์ วันหนึ่ง
กิจการเมล็ดพันธุ์ ซึ่งเปลี่ยนชื่อมาเป็น “เจริญโภคภัณฑ์” (ซีพี) ขยายมาทำอาหารสัตว์จนลงตัวที่ธุรกิจเลี้ยงไก่ ธนินท์ได้รับมอบหมายให้เป็นทัพหน้า คอย
ประคบประหงมกิจการที่เกิดขึ้นใหม่ โดยแนวคิดสำคัญของธุรกิจใหม่นี้ คือ “ทำอาหารสัตว์ หากไม่เลี้ยงสัตว์ให้ดู ใครจะเชื่อถืออาหารสัตว์ที่ทำขึ้นมา” และในยุคนั้น เนื้อไก่เป็นของดีมีราคา คนส่วนใหญ่จึงได้แต่กินโปรตีนจากไข่เป็นของดีราคาถูก
ยกประสบการณ์แต่ละครั้งเป็นครูเสมอมา
สาเหตุหลักที่ทำให้ราคาไก่เมื่อกว่า 40 ปีที่แล้ว แพง เป็นเพราะต้นทุนสูง มีข้อ
จำกัดยิบย่อยเต็มไปหมด ตั้งแต่ปริมาณไก่ที่เลี้ยงไปจนถึงค่าใช้จ่ายยิบย่อยต่างๆ นานา
ผลที่ได้คือ สามารถเพิ่มผลิตผลได้ 100 เท่า จากการเลี้ยงไก่แบบเดิมๆ 1 คน เลี้ยงได้ 100 ตัว เปลี่ยน ประวัติศาสตร์หน้าใหม่เป็น 1 คน เลี้ยงได้ 10,000 ตัว และในยุค 4G นี้ เกษตรกร 1 คน สามารถเลี้ยงไก่ได้มากถึง 170,000 ตัว หรือคิดเป็น 17 เท่าของยุคก่อน
ดังนั้น ธนินท์จึงเริ่มศึกษาวิธีการว่าต้องทำอย่างไรไก่จึงจะไม่กลายเป็นอาหาร
เกินเอื้อม คำตอบที่ได้มีเพียงการใช้เทคโนโลยีระดับสูง แต่เวลานั้น การเลี้ยงไก่
อยู่ในความควบคุมดูแลของเกษตรกร ยังไม่ได้ศึกษาเทคโนโลยีใหม่ ทางซีพีจึงตัดสินใจนำเทคโนโลยีจากสหรัฐอเมริกา โดยบริษัทอาร์เบอร์ เอเคอร์ส (Arbor Acres) มาวางรากฐานธุรกิจการเลี้ยงไก่สมัยใหม่ในประเทศไทย
หลังจากความสำเร็จในกิจการเลี้ยงไก่ ธนินท์กับพี่ๆน้องๆ ก็เริ่มขยายการลงทุนออกไปทั้งแนวกว้าง กระจายการลงทุนไปในหลายประเทศ บนพื้นฐานความคิด
ที่ว่า ต้องส่งเสริมการลงทุนในต่างแดนของนักธุรกิจไทย เพื่อประกาศให้ต่างชาติรู้ว่า คนไทยมีความรู้ความสามารถไม่แพ้ชาติใดในโลก
ธรรมชาติของนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จทุกคนรู้ดีว่า การทำธุรกิจย่อมมีผิดพลาด ในมุมของธนินท์มองว่า ความผิดพลาดคือค่าเล่าเรียน ถ้าผิดพลาด 30% สำเร็จ 70% ให้ถือว่า 30% เป็นค่าเล่าเรียนเพื่อให้ได้เรียนรู้ข้อผิดพลาด
และอีกครั้งที่ธนินท์ได้รับมอบงานสำคัญ คือการรับผิดชอบขนหมูส่งฮ่องกงทางเรือ ที่ประสบปัญหาหมูตายทุกครั้งที่เรือเข้าฝั่ง พี่ชายจึงส่งธนินท์ไปทดลองแก้ปัญหาโดยให้ข้อเสนอว่า ถ้ามีหมูตายน้อยลง 1 ตัว เขาจะได้ เงินพิเศษ 100 บาท
ธนินท์ทำการบ้าน โดยพยายามสังเกตหาสาเหตุ จนพบว่าการตายของหมูเชื่อมโยงกับการโคลงเคลงของเรือตามทิศทางลมแต่ละฤดู เขาจึงทดลองจัดวาง
ตำแหน่งใหม่ โดยนำหมูไปไว้ตรงกลางเรือในช่วงหน้าร้อน และย้ายหมูไปท้ายเรือในช่วงหน้าหนาว หลังจากนั้นหมูก็ตายน้อยลง
ธนินท์เรียนรู้จากข้อผิดพลาดนับแต่เริ่มต้นทำงาน เช่น ครั้งไปบุกเบิกตลาดฮ่องกง ในช่วงที่มีปัญหาขาดแคลนอาหารเนื้อสัตว์ทั้งไก่และหมูจนต้องนำเข้าจากประเทศไทย ธนินท์มีแนวคิดแหวกแนวกว่าเจ้าอื่นๆ นั่นคือเช่าเหมาเครื่อง
บินการบินไทย เพื่อขนไก่เป็นๆ ไปส่งให้ฮ่องกง ซึ่งพี่ๆ ได้มอบหน้าที่ให้ธนินท์เป็นผู้ควบคุมการขนส่งครั้งนี้
บทเรียนล้ำค่าที่ธนินท์ได้รับโดยไม่คาดคิดเกิดขึ้น เมื่อกัปตันเห็นว่าผู้โดยสาร
ของเที่ยวบินนี้เป็นไก่ จึงงดบริการเสิร์ฟน้ำและอาหาร ปิดแอร์ในห้องผู้โดยสาร แล้วจัดให้ธนินท์มานั่งด้านหน้าร่วมกับนักบิน ทำให้ไก่ขาดอากาศ และค่อยๆ ตายไปทีละตัว เมื่อเห็นเช่นนั้น เขาจึงได้ขอให้นักบินผู้ช่วยออกมาช่วยเปิดแอร์
ให้ไก่ แต่ก็ไม่สามารถช่วยชีวิตไก่ได้หมด ไก่ตายไปกว่าครึ่ง เหตุการณ์ครั้งนั้นส่งผลให้ธนินท์เข้าใจถึงคำว่าขาดทุนตั้งแต่ยังไม่ได้แลนดิ้ง เป็นบทเรียนที่มีผลต่อก้าวย่างของซีพีจนถึงวันนี้