อายุเกิน 60 สมัครประกันสังคม ได้รับประโยชน์สูงสุด 5 ด้าน
อายุเกิน 60 ปี สมัครประกันสังคมมาตรา 40 ได้ รับประโยชน์สูงสุด 5 ด้าน
นายทศพล กฤตวงศ์วิมาน เลขาธิการ สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า สำนักงานประกันสังคมได้ให้ความสำคัญแก่แรงงานอิสระ โดยการปรับปรุงกฎหมายเพื่อเปิดโอกาสให้ แรงงานอิสระหรือผู้ประกอบอาชีพอิสระ ที่มีอายุเกิน 60 ปี แต่ไม่เกิน 65 ปีบริบูรณ์ สามารถสมัครขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ได้แล้ว มีผลตั้งแต่วันที่ 24 มิถุนายน 2563 เป็นต้นไป
สำหรับความคุ้มครองและสิทธิประโยชน์ประกันสังคมที่ผู้สูงวัยสามารถเลือกได้ทุกทางเลือก ปัจจุบันมี 3 ทางเลือก
ทางเลือกที่ 1 จ่าย 70 บาท
ทางเลือกที่ 2 จ่าย 100 บาท
ทางเลือกที่ 3 จ่าย 300 บาท
สำหรับผู้สูงวัยที่สนใ จสมัครเป็น ผู้ประกันตนมาตรา 40 สามารถสมัครได้ที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/ จังหวัด/ สาขา ทั่วประเทศ ที่สะดวก รวมถึงหน่วยบริการเคลื่อนที่ของสำนักงานประกันสังคม สมัครผ่านภายใต้เครือข่ายประกันสังคม สมัครด้วยตนเองผ่านมือถือที่เว็บไซต์ w w w . s s o . g o . t h โทรศัพท์สายด่วน 1506 หรือผ่านเคาน์เตอร์เซอร์วิส (7-11) เคาน์เตอร์ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) และเคาน์เตอร์ห้างสรรพสินค้าบิ๊กซี (Big C)
“ผู้สูงวัยที่มีอายุใกล้ครบ 65 ปีบริบูรณ์ ควรรีบสมัครขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 40 และจ่ายเงินสมทบทันที เพราะหากอายุเกิน 65 ปีบริบูรณ์แล้ว จะไ ม่สามารถสมัครได้” นายทศพลกล่าว
ทั้งนี้ สามารถสอบถามรายละเอี ยดได้ที่ สำนักงานเสริมสร้างความมั่นคงแรงงานนอกระบบ โทรศัพท์ 0 2 9 6 5 2 1 0 6, สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานคร พื้นที่/ จังหวัด/ สาขา ทั่วประเทศ หรือโทรสายด่ว น 1506 ให้บริการไ ม่เว้นวันหยนุดราชการตลอด 24 ชั่ วโมง
สิทธิประโยชน์ ผู้ประกันตนมาตรา 40
ผู้ประกันตนในระบบ ประกันสังคมมาตรา 40 คือ ผู้ประกันตนนอกระบบ หรือผู้ประกอบอาชีพอิสระ ที่ไ ม่มีนายจ้าง โดยการสมัครเป็นผู้ประกันตนมาตรา 40 มีทางเลือกในการจ่ายเงินสมทบและการรับสิทธิประโยชน์ 3 ทางเลือก ดังนี้
ทางเลือกที่ 1 จ่ายเงินสมทบ 70 บาทต่อเดือน รับสิทธิประโยชน์พื้นฐานคุ้มครอง 3 กรณี ได้แ ก่
กรณีประสบอันตร ายหรือเ จ็บป่ว ย เงินทดแทนการขาดรายได้สูงสุด 300 บาทต่อวัน ไ ม่เกิน 30 วันต่อปี
กรณีทุพพลภาพ รับเงินทดแทนการขาดรายได้ 500-1,000 บาทต่อเดือน ไ ม่เกิน 15 ปี
กรณีเสี ยชีวิต ได้รับค่าทำศ พ 20,000 บาท และได้เพิ่มอีก 3,000 บาท หากจ่ายเงินสมบทเกิน 60 เดือน
ทางเลือกที่ 2 จ่ายเงินสมทบ 100 บาทต่อเดือน รับสิทธิประโยชน์พื้นฐานคุ้มครอง 4 กรณี ได้แ ก่
กรณีประสบอันตร ายหรือเจ็ บป่ วย เงินทดแทนการขาดรายได้สูงสุด 300 บาทต่อวัน ไ ม่เกิน 30 วันต่อปี
กรณีทุพพลภาพ รับเงินทดแทนการขาดรายได้ 500-1,000 บาทต่อเดือน ไ ม่เกิน 15 ปี
กรณีเ สียชีวิต ค่าทำศ พ 20,000 บาท และได้รับเพิ่ม 3,000 บาท หากจ่ายเงินสมทบเกิน 60 เดือน
กรณีชร าภาพ รับบำเหน็จชราภาพ 50 บาทต่อเดือน ออมเพิ่มได้ 1,000 บาทต่อเดือน
ทางเลือกที่ 3 จ่ายเงินสมทบ 300 บาทต่อเดือน ได้รับสิทธิประโยชน์พื้นฐานคุ้มครอง 5 กรณี ได้แ ก่
กรณีประสบอันตร ายหรือเ จ็บป่ว ย เงินทดแทนการขาดรายได้สูงสุด 300 บาทต่อวัน ไ ม่เกิน 90 วันต่อปี
กรณีทุพพลภาพ รับเงินทดแทนการขาดรายได้ 500-1,000 บาทต่อเดือนตลอดชีวิต
กรณีตา ย เงินค่าทำศ พ 40,000 บาท
กรณีชร าภาพ รับบำเหน็จชราภาพ 150 บาทต่อเดือน ออมเพิ่มได้ 1,000 บาทต่อเดือน
กรณีสงเค ราะห์บุตร 200 บาทต่อคนต่อเดือน คราวละไ ม่เกิน 2 คน
ที่มา thebangkokinsight