อย่าทำงานหนัก เพื่อเก็บเงินไปใช้ในห้อง ICU
อย่าทำงานหนัก เพื่อเก็บเงินไปใช้ในห้อง ICU
คนที่ทำงานหนักมากไป ลองหันกลับมาถามร่างกายดูบ้างก็ได้นะคะว่าเหนื่อยไหม ไหวหรือเปล่า เพราะอาการแรก ๆ ที่คนทำงานหนักได้พบเจอกันบ่อย ๆ นั่นก็คือความอ่อนเพลีย เมื่อยล้า ซึ่งแปลได้ว่าร่างกายกำลังอ่อนแอลง และพร้อมจะรับเชื้อโรคที่ลอยล่องอยู่ตามสภาพแวดล้อมในที่ทำงานได้ง่ายขึ้น จนเสี่ยงต่อโรคและอาการเจ็บป่วยต่อไปนี้
1. โรคตึกเป็นพิษ
โรคนี้มีอยู่จริง ๆ ค่ะ และเป็นโรคที่เกิดขึ้นภายในที่ทำงาน โดยเฉพาะสภาพแวดล้อมที่ทำงานที่ไม่ถูกสุขอนามัย มีฝุ่นหนา ไม่ได้รับการทำความสะอาดที่ดี หรือเป็นสถานที่ทำงานที่ต้องเจอกับสารเคมี กลิ่นไม่พึงประสงค์บ่อย ๆ อาจทำให้เกิดอาการของโรคตึกเป็นพิ ษ ซึ่งได้แก่ อาการอ่อนล้า ปวดหัว เวียนศีรษะ คลื่นไส้ คัดจมูก ไอ จาม เกิดผดผื่นคัน ระคายเคืองดวงตา หรือมีความผิดปกติที่ประสาทรับกลิ่น เป็นต้น
ทั้งนี้หากไม่ใส่ใจ และปล่อยปละละเลยเอาไว้นาน อาการของโรคตึกเป็นพิษอาจทวีความรุนแรงเอาได้นะคะ
2. โรคเครียด
ยอมรับไหมล่ะว่าการทำงานหนักทำให้รู้สึกเครียดได้จริง ๆ ยิ่งหากเจองานที่มีความกดดันสูง หรือบางทีเราก็กดดันตัวเองให้ต้องทำงานเยอะ ๆ ปัจจัยเหล่านี้แหละจะทำให้คุณมีระดับความเครียดที่เพิ่มขึ้น ซึ่งความเครียดเหล่านี้ก็จะทำให้เกิดผลกระทบต่อร่างกาย เช่น ปวดหัว อ่อนล้า คลื่นไส้ และอารมณ์เกรี้ยวกราด นอกจากนี้ความเครียดยังทำให้ประสิทธิภาพของงานลดลงอีกด้วย ไม่เชื่อมาดูนี่สิ
ผลกระทบสุดแย่ ที่เกิดเพราะแค่คุณเครียด สัญญาณเตือนความเครียด
3. อ้วนขึ้น
จากการศึกษาในออสเตรเลียพบว่า การนั่งเป็นเวลานานติดต่อกันวันละหลายชั่วโมง มีผลกระทบต่อระบบการเผาผลาญอาหาร เพราะการเผาผลาญจะน้อยลงเมื่อเรานั่ง และเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ อ้ ว น และปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ตามมาอีกมากมาย เช่น โรคเบาหวาน โรคหั ว ใจและ ห ล อ ด เ ลื อ ด แถมยังมีการวิจัยพบว่า ผู้หญิงที่นั่งทำงานมากกว่าวันละ 6 ชั่วโมงต่อวัน อาจมีอัตราเสี่ยงในการเสียชีวิตสูงกว่าผู้ที่นั่งทำงานเพียง 3 ชั่วโมงต่อวันถึง 40% เลยทีเดียว
4. ออฟฟิศซินโดรมคืบคลานมาหา
นั่งนาน ๆ หรือยืนนาน ๆ อาการปวดก็มักจะถามหา โดยเฉพาะเหล่ามนุษย์เงินเดือนที่ต้องนั่งทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์ทั้งวัน ไม่แน่ว่าบางทีลักษณะการนั่งทำงานของคุณอาจผิดท่า หรือไม่ถูกหลักสุขภาพที่ดีจนอาจเสี่ยงต่อโรคออฟฟิศซินโดรมก็ได้ หรือเบาะ ๆ อาจมีอาการปวดตามส่วนต่าง ๆ หนักมาก หรือปวดเรื้อรัง เป็นต้น
5. สายตาพัง
การทำงานหน้าคอมพิวเตอร์นานเกินไปอาจทำให้เกิดโรคคอมพิวเตอร์วิชั่นซินโดรม ซึ่งจะทำให้ดวงตามีปัญหาเรื่องการมองเห็น โดยอาการจะเริ่มจากการตาแห้ง ปวดหัว คอ และไหล่ และอาจจะทำให้มองเห็นเป็นภาพเบลอ วิธีป้องกันโรคนี้ก็คือการละสายตาจากคอมพิวเตอร์แล้วหันไปมองต้นไม้ใบหญ้าสี เขียว ๆ เพื่อเป็นการผ่อนคลายสายตาทุก ๆ 20 นาที
6. ความสัมพันธ์แย่
มีการศึกษาค้นพบว่าผู้หญิงกว่า 61% ที่ทำงานภายใต้ความเครียดและความกดดันนั้นจะส่งผลลบต่อความสัมพันธ์นอก ออฟฟิศ ในขณะที่ฝ่ายชายนั้นมีอัตราที่ความเครียดจะทำลายความสัมพันธ์นอกออฟฟิศสูง ถึง 79% เลยเชียว !
7. โรคคาโรชิ
ชื่อบอกยี่ห้อมาก ๆ ว่าได้รับการตั้งชื่อโรคมาจากแดนปลาดิบ แต่ถ้าแปลเป็นภาษาอังกฤษจะหมายถึง D e a t h from Overwork หรือ การเสียชีวิตจากการทำงานหนัก พูดง่าย ๆ ก็คือ ทำงานหนักจน ต า ย หรือบ้างานจน ต า ย นั่นเอง และในญี่ปุ่นแล้ว อัตราการ เ สี ย ชี วิ ต จากโรคนี้ค่อนข้างสูงมาก ดูได้จากข่าวพนักงานชาวญี่ปุ่น เ สี ย ชี วิ ต โดยไม่ทราบสาเหตุ ที่เคยเกิดขึ้นบ่อย ๆ โดยบางคนนั่งรถไฟกลับบ้านอยู่ดี ๆ ก็ เ สี ย ชี วิ ต เอาดื้อ ๆ ทางการแพทย์จึงฟันธงว่า สาเหตุการ เ สี ย ชี วิ ต น่าจะมาจากโรคคาโรชินี่แหละ ที่เกิดจากการทำงานหนักมาก ๆ จนร่างกายทนต่อไปไม่ได้
นอกจากนี้ คนบ้ างานหลาย ๆ คนก็อาจยังไม่รู้ตัวว่าเป็นโรคคาโรชิแล้วด้วยนะคะ ที่สำคัญเมื่อทำงานหนัก เครียดจากงานก็ไป ดื่ ม แ อ ล ก อ ฮ อ ล์ หรือกินไม่ยั้งเพื่อคลายเครียด ทำให้อาจพักผ่อนไม่เพียงพอ เสี่ยงโรคไ ข มั น อุดตัน โรคความดันโลหิตสูง โรคหั ว ใ จ โรคม ะ เ ร็ ง แม้กระทั่งอั ม พ า ต จนอาจโบกมือลาโลกใบนี้ไปอย่างไม่รู้เนื้อรู้ตัวในที่สุด
ฉะนั้นคนที่ทำงานหนักแบบหามรุ่งหามค่ำ เราอยากให้ทำความรู้จักกับโรคคาโรชิ ไว้สักหน่อย ก่อนพลาดป่วยด้วยโรคนี้ไป
เห็นไหมว่าการโหมทำงานอย่างหนักไม่ได้ช่วยให้ชีวิตดีขึ้นอย่างที่คาดฝันไว้ เสมอไป แต่อาจนำพาสุขภาพพัง ๆ มาถึงเราได้ และหากรู้ตัวว่าบ้างานหนักมาก ก็มาลองเช็กอาการด้วยว่าเรามีความเสี่ยงจะป่วยด้วยโรคต่าง ๆ มากน้อยแค่ไหน โดยเช็กได้จากนี่เลย
สัญญาณนี้แหละใช่ ทำงานหนักเกินไปแล้วชัวร์ ๆ ปวดเมื่อยตามตัว โดยเฉพาะบริเวณหลัง ไหล่ ท้ายทอย สายตา ปวดศีรษะ และข้อมือ มีอาการตาพร่ามัว มองเห็นภาพเบลอ โดยเฉพาะหลังจากนั่งทำงานไปแล้วสักพักใหญ่ ๆ
แค่ขยับก็รู้สึกเจ็บ เพราะเกิดอาการเอ็น ข้อ ยึด จากการนั่งติดเก้าอี้เป็นเวลานาน ๆ หมดพลัง เหมือนไร้เรี่ยวแรงจะลุกไปไหน ให้ความสนใจแต่เรื่องงาน คิดอะไรก็เป็นเรื่องงานไปซะหมด บ้างานซะจนไม่มีเวลาให้ครอบครัว คนใกล้ตัว หรือแม้แต่ตัวเอง
มักจะหอบงานกลับมาทำที่บ้านด้วยเสมอ ๆ ทำงานจนดึก และมักจะอดนอนเป็นประจำ อยู่ว่าง ๆ ก็เช็กอีเมลเรื่องงานเป็นประจำ ไม่เว้นแม้แต่ตอนพักผ่อนอยู่ที่บ้าน
พกมือถือของบริษัทติดตัวตลอด หรือมักจะคอยฟังเสียงโทรศัพท์เพราะคิดว่าอาจมีคนติดต่อเรื่องงานเข้ามา
คอยสอดส่องข่าวสารเกี่ยวกับหน้าที่การงาน และมักจะเป็นคนแรก ๆ ที่ได้ข่าวสารเรื่องงานก่อนใคร ๆ
ยอมใช้สมาร์ทโฟนเพื่อจะได้ติดต่อเรื่องงานอย่างสะดวกมากขึ้น นอกจากนั้นก็แทบไม่ได้ใช้ประโยชน์จากแอพพลิเคชั่นอื่น ๆ เลย
สูบบุหรี่มากขึ้น
มีอาการเจ็บป่วยเรื้อรัง ซึ่งอาจเป็นอาการเจ็บป่วยเล็ก ๆ น้อย ๆ ในเบื้องต้น เช่น อาการปวดศีรษะ ปวดตา หรือเป็นหวัดไม่หายสักที มีแนวโน้มดื่มกาแฟมากขึ้นทุกวัน ๆ
บางคนก็เกิดอารมณ์ ฉุ น เ ฉี ย วใส่เพื่อนร่วมงาน โดยเฉพาะกับคนที่เราคิดว่าเขาทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพอย่างที่เราคาดหวัง ไว้หงุดหงิดง่ายขึ้น มองอะไรก็ไม่สบอารมณ์ ทุกอย่างดูขวางหูขวางตาไปหมด เพราะเครียดกับงานมากเกินไป
หากเช็กสัญญาณแล้วพบว่าตัวเองมีอาการบ้างานมากเกินไปอยู่หลายข้อ แนะนำว่าให้รีบปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตของตัวเองเสียใหม่ จะได้ไม่เป็นการโหมทำงานหนักเกินไปเพื่อเก็บเงินเอาไว้ใช้ในห้อง ICU