แบ งก์ช าติ สั่ง ธน าค าร พั กห นี้ เพิ่ ม อี ก 6 เดือ น

แบ งก์ช าติ สั่ง ธน าค าร พั กห นี้ เพิ่ ม อี ก 6 เดือ น

นางรุ่ง มัลลิกะมาส ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายเสถียรภาพระบบการเงิ นและยุทธศาสตร์องค์กร ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า หากดู SME ที่มีวงเงิ นสินเชื่อไม่เกิน 100 ล้านบาท ซึ่งเข้าสู่โครงการพักหนี้ตามพระราชกำหนดการให้ความช่วยเหลือทางการเงิ นแก่ผู้ประกอบวิสาหกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาด ทั้งสิ้น มีราว 1.05 ล้านบัญชี หรือคิดเป็นยอดหนี้ 1.35 ล้านล้านบาท แบ่งเป็นลูกหนี้ธนาคารรัฐ 4 แสนล้านบาท และลูกหนี้ธนาคารพาณิชย์ 9.5 แสนล้านบาท

เบื้องต้น ธปท. มีการออกประกาศให้สถาบันการเงิ นคงสถานการณ์การจัดชั้นลูกหนี้ SME กลุ่มนี้ ถึงสิ้นปี 2563 (Stand still) เพื่อให้ลูกหนี้สามารถใช้เวลาช่วงที่เหลือ หลังจากหมดมาตรการพักหนี้ SME เป็นการทั่วไป

วันที่ 22 ตุลาคม นี้ ไปจนถึงสิ้นปี ในการเจรจาปรับเงื่อนไขการชำระหนี้ต่าง กับสถาบันการเงิ น ซึ่งจะช่วยไม่ให้ลูกหนี้เหล่านี้กลายเป็นหนี้เสีย และเป็นการเพิ่มแรงจูงใจให้แบงก์เร่งดำเนินการปรับเงื่อนไขการชำระหนี้

ทั้งนี้ หากลูกหนี้ยังไม่สามารถกลับมาชำระหนี้ได้ตามปกติ หรืออาจจ่ายได้บางส่วน ธนาคารพาณิชย์ยังคงมีมาตรการในการช่วยเหลือลูกหนี้อย่างต่อเนื่อง จนกว่าจะกลับมามีรายได้เพิ่มขึ้นเพียงพอในการกลับมาชำระหนี้ได้ เช่น การปรับเงื่อนไขการชำระหนี้ตามความเหมาะสมของลูกหนี้แต่ละราย เพื่อไม่ให้กลายเป็น NPL และอาจมีมาตรการอื่น ตามความเหมาะสมต่อไป เช่น การลดอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล เป็นต้น

สำหรับกรณีที่ลูกหนี้ไปไม่ไหว หรือรายได้ยังไม่กลับ ธนาคารพาณิชย์ก็สามารถพิจารณาพักหนี้ให้ลูกหนี้เป็นการเฉพาะเป็นรายกรณีได้อีกไม่เกิน 6 เดือน ในเบื้องต้น นับจากสิ้นปี 2563 จนถึงสิ้นเดือนมิถุนายน 2564

ทั้งนี้ จากที่ธปท.หารือกับธนาคารพาณิชย์ ราว 94% พบว่า มีเกินครึ่ง มีศักยภาพกลับมาจ่ายหนี้ได้ ดั งนั้uที่มีคนกังวลว่าเราอาจเห็นลูกหนี้ตกหน้าผา เมื่อสิ้นโครงการ มีคนจำนวนมากที่ไปต่อไม่ไหว ก็อาจไม่ได้เป็นแบบนั้น และคาดว่าจะไม่เกิ ดการผิดนัดชำระหนี้จำนวนมากในเวลาอันรวดเร็ว หรือ Cliff effect หลังหมดมาตรการพักหนี้

แหล่งข้อมูล กรุงเทพธุรกิจ

ใส่ความเห็น

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า