4 วิธีใช้แอร์ ค่าไฟไม่พุ่ง แบบเย็นใจ สบายกระเป๋า มีเงินเหลือใช้

4 วิธีใช้แอร์ ค่าไฟไม่พุ่ง แบบเย็นใจ สบายกระเป๋า มีเงินเหลือใช้

1. ต้องประหยัดไฟเบอร์ 5

จากสถิติการใช้ไฟฟ้าหลาย ปี จะพบว่าช่วงเดือนเมษายนจะเป็นช่วงเวลาที่เมืองไทยใช้พลังงานไฟฟ้ามากที่สุดเสมอ เพราะเป็นช่วงเวลาที่เมืองไทยอากาศร้อนสุด สถิตินี้สะท้อนให้เห็นแล้วว่าเมืองไทยใช้พลังงานไฟฟ้า เพื่อสร้างความเย็นให้ที่อยู่อาศัยมากเป็นอันดับต้น

การเลือกแอร์ที่ประหยัดไฟ จึงเป็นปัจจัยแรกที่ควรนึกถึงทุกครั้งที่เลือกซื้อ เป็นที่ทราบกันดีค่ะว่า ฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 เป็นระดับความประหยัดไฟฟ้าสูงที่สุด ออกโดยกระทรวงพลังงาน และจะมีตรากระทรวงประทับอยู่บนฉลากเสมอ

แอร์ประหยัดไฟเบอร์ 5 จึงเป็นแอร์ที่ควรได้รับการพิจารณาเป็นอันดับต้น เมื่อเลือกซื้อแอร์ติดตั้งภายในบ้าน ไม่ว่าจะเป็นแอร์แบบฝังในเพดาน แอร์ติดผนัง หรือแอร์เคลื่อนที่

2. ติดตั้งในตำแหน่งที่เหมาะสม

เป็นเ รื่ อ งสำคัญอันดับต้น สำหรับตำแหน่งการติดตั้งแอร์ เพราะหากอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมแล้วจะสามารถลดค่าไฟฟ้าในแต่ละเดือนได้ ตำแหน่งที่เหมาะสมในการติดตั้งแอร์ FCU (ตัวเครื่องที่ติดตั้งภายในห้อง) ในบ้านมีดังนี้

บริเวณที่ติดตั้งสามารถกระจายลมได้ทั่วถึงทั้งห้อง ไม่มีสิ่งกีดขวาง และไม่ควรติดตั้งในมุมอับ หลีกเลี่ยงการติดตั้ง FCU ในบริเวณที่ใกล้กับประตู หน้าต่าง หรือพัดลมดูดอากาศเพราะจะทำให้อากาศเย็นภายใน ถูกความร้อนภายนอกไหลเข้ามาแทนที่ได้ง่าย

อย่าติดชิดผนังที่รับแดดจัด หรือทิศตะวันตก เพราะจะทำให้แอร์ทำงานหนัก ยิ่งเป็นห้องนอนที่ต้องอยู่อาศัยในช่วงเย็นด้วยแล้ว ยิ่งควรหลีกเลี่ยงตำแหน่งดังกล่าว

3. เลือกขนาดที่พอดีกับพื้นที่ภายในห้อง

อาจจะได้ยินกันมาบ้างสำหรับค่า BTU (British Thermal Unit) คือหน่วยวัดปริมาณความร้อน โดยในเครื่องปรับอากาศจะใช้หน่วยวัดพลังเป็น BTU/hr. (บีทียูต่อชั่ วโมง) หรือจะเรียกง่าย ว่า BTU เทานั้น

อาทิ เครื่องปรับอากาศขนาด 12,000 BTU/hr. หมายความว่าเครื่องปรับอากาศเครื่องนี้สามารถดูดความร้อน BTU ภายในหนึ่งชั่ วโมง เครื่องปรับอากาศแต่ละรุ่นจะมีค่า BTU ต่างกันเริ่มตั้งแต่ 9,000-80,000 BTU

ซึ่งถือเป็นค่าสูงสุด การเลือกขนาด BTU ตามความเหมาะสม ควรเลือกตามขนาดของห้อง สามารถคำนวณโดยใช้สูตร

– พื้นที่ห้อง x ค่า Cooling Load Estimation = ค่า BTU ที่เหมาะสม

– ค่าประเมิน Cooling Load Estimation ที่เหมาะสมกับแต่ละห้อง

– ห้องนอน 700-750 BTU/ตารางเมตร

– ห้องนั่งเล่น 750-850 BTU/ตารางเมตร

– ห้องทานอาหาร 800-950 BTU/ตารางเมตร

– ห้องครัว 900-1000 BTUตารางเมตร

– ห้องทำงาน 800-900 BTU/ตารางเมตร

– ห้องประชุม 850-1000 BTU/ตารางเมตร

สูตรข้างต้นใช้คำนวณในกรณีที่ความสูงของเพดานที่สูงไม่เกิน 3 เมตรเท่านั้น หากห้องมีความสูงมากกว่า และมีปัจจัยอื่น เพิ่มขึ้น

อาทิ จำนวนผู้อยู่อาศัย เครื่องใช้ไฟฟ้า หรือพื้นที่กระจกภายในห้อง จะต้องบวกค่า BTU เพิ่มด้วย หากเลือกขนาดของ BTU มากติดตั้งในห้องขนาดเล็กก็จะเปลืองพลังงานโดยใช่เหตุ

4. ตั้งอุณหภูมิให้พอเหมาะ

โดยทั่วไปแล้วเรามักจะเข้าใจว่าอุณหภูมิภายในห้อง ที่เหมาะต่อการอยู่อาศัยอยู่แล้วรู้สึกสบายนั้น จะอยู่ที่ 25-26 องศา หากเกินนี้จะรู้สึกร้อนเกินไป

แต่หากเลือกเปิดแอร์ที่อุณหภูมิ 28-30 องศา แล้วเลือกเปิดพัดลมเพื่อเพิ่มความเร็วลมในห้อง เราจะยังรู้สึกเย็นสบายอยู่เช่นเดิม และช่วยประหยัดพลังงานได้มาก

เพราะเครื่องปรับอากาศจะทำงานเบาลง หากเป็นช่วงเวลานอนควรตั้งอุณหภูมิไว้ไม่ต่ำกว่า 28 องศา เนื่องด้วยในช่วงเวลาที่เราหลับร่ า งกายจะไม่สามารถปรับอุณหภูมิตามสภาพอากาศได้ จึงควรตั้งอุณหภูมิที่สูงไว้ เป็นการช่วยประหยัดพลังงานได้อีกทาง

ขอขอบคุณที่มาข้อมูล sharesod

ใส่ความเห็น

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า